การพัฒนาต้นแบบเมืองสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ตามนโยบายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยพื้นฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับการเป็น ประเทศไทย 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เล็งเห็นความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศตามนโยบายของภาครัฐ จึงได้ริเริ่มดำเนินโครงการความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาต้นแบบเมืองสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะสำหรับเป็นกรอบแนวคิดเพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะสำหรับการพัฒนาในพื้นที่จริง
โครงการความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาต้นแบบเมืองสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะได้ออกแบบให้สอดคล้องกับแนวคิดและทฤษฎีเมืองอัจฉริยะของสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย บนพื้นฐานเมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประชากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัยให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืนโดยมีมิติที่สำคัญ 7 ด้าน สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.depa.or.th/th/smart-city-plan
สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
เป็นเมืองที่มุ่งเน้นปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการบริหารจัดการ และติดตามเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม และสภาวะแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เช่น การจัดการน้ำ การดูแลสภาพอากาศ การเฝ้าระวังภัยพิบัติตลอดจนเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility)
เป็นเมืองที่มุ่งเน้นเพิ่มความสะดวก ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่งและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living)
เป็นเมืองที่มุ่งเน้นให้บริการที่อำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิต เช่น การบริการด้านสุขภาพให้ประชาชนมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุ การเพิ่มความปลอดภัยของประชาชนด้วยการเฝ้าระวังภัยจากอาชญากรรม ไปจนถึงการส่งเสริมให้เกิดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการดำรงชีวิตที่เหมาะสม
พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People)
เป็นเมืองที่มุ่งเน้นพัฒนาพลเมืองให้มีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการดำรงชีวิต สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้นอกระบบ รวมถึงการส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน ด้วยความหลากหลายทางสังคม
พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)
เป็นเมืองที่มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเมือง หรือใช้พลังงานทางเลือกอันเป็นพลังงานสะอาด (Renewable Energy) เช่น เชื้อเพลงชีวมวล ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและไฟฟ้าจากพลังงานอื่น ๆ เป็นต้น
เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy)
เป็นเมืองที่มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ สร้างให้เกิดความเชื่อมโยงและความร่วมมือทางธุรกิจ และประยุกต์ใช้นวัตกรรม ในการพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจ (เช่น เมืองเกษตรอัจฉริยะ เมืองท่องเที่ยวอัจฉริยะ เป็นต้น)
การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)
เป็นเมืองที่มุ่งเน้นพัฒนาระบบบริการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐสะดวก รวดเร็ว เพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงการเปิดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้
โครงการความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาต้นแบบเมืองสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะประกอบด้วย ต้นแบบเมืองสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ 8 รูปแบบ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาเมืองเดิมน่าอยู่ที่มีรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน หรือการพัฒนาเมืองใหม่ที่มีรูปแบบการพัฒนาเป็นเมืองเฉพาะตามหน้าที่หรือวัตถุประสงค์หลักของเมืองนั้นๆ ได้แก่
และเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนเมืองอัจฉริยะควรต้องมีระบบการกำกับดูแล และส่งเสริมให้เมืองสามารถพึ่งพาตัวเองได้ เช่น การจัดตั้งโครงสร้างหน่วยงานถาวรบริหารและพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน การจัดทำกลยุทธ์บริหารจัดการและดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การวางผังแม่บท (Master Plan) และการใช้ที่ดินและโครงสร้างพื้นฐานในรูปแบบเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นระบบ เป็นต้น
ดาวน์โหลดในรูปแบบ pdf⇒⇒